Tencent Cloud
Tencent Cloud
Content Delivery Network: CDN

Content Delivery Network: CDN

บริการเพิ่มความเร็วการส่งข้อมูลที่รวดเร็ว เสถียร เฉลียวฉลาด และปลอดภัย

ติดต่อฝ่ายขาย

ภาพรวม

ระบบเครือข่ายส่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Content Delivery Network: CDN) ของ เทนเซ็นต์ คลาวด์ คือบริการเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูล ที่ช่วยให้ผู้ใช้ปลายทางได้เข้าถึงข้อมูลที่ใกล้ที่สุดได้ ด้วยการส่งข้อมูลไปยัง Cache Nodes ที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลก การมีระบบเครือข่ายที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลกนี้ช่วยร่นระยะเวลาในการส่งข้อมูล ลดการทำงานขัดข้องของเครือข่าย และช่วยเพิ่มความเร็วการดาวน์โหลด และพัฒนาความสามารถในการตอบรับคำร้องใช้งาน รวมถึงประสบการณ์การใช้งานโดยรวม

ประโยชน์

ทรัพยากรเพิ่มความเร็วขนาดมหาศาล

ทรัพยากรเพิ่มความเร็วขนาดมหาศาล

CDN ของ เทนเซ็นต์ คลาวด์ มีทรัพยากรเพิ่มความเร็วขนาดมหาศาล ที่กระจายตัวอยู่ในกว่า 50 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก และมีแบนด์วิดท์รวมกันทั้งหมดกว่า 120 Tbps โดยระบบ CDN มี Nodes ที่มีกว่า 1,100 Cache Nodes อยู่ในหลายเครือข่ายของประเทศจีน ได้แก่ China Mobile, China Unicom, China Telecom และผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตขนาดเล็กและขนาดกลางอีกหลายเจ้า และยังมีอีกกว่า 1,000 Cache Nodes นอกประเทศจีน จึงสามารถให้บริการเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลที่รวดเร็วและเสถียรแก่ผู้ใช้ได้
การกำหนดเวลาที่เฉลียวฉลาด

การกำหนดเวลาที่เฉลียวฉลาด

ระบบการกำหนดเวลาที่ทำงานแบบ GSLB และสามารถออกแบบระบบเองได้ของเทนเซ็นต์ คลาวด์ เมื่อจับคู่กับระบบเฝ้าสังเกตที่ทำงานแบบเครือข่าย Real-Time ก็สามารถนำส่งคำร้องขอข้อมูลของผู้ใช้ ไปยัง Nodes ข้อมูล และสามารถรับรองการเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพสูงได้
เพิ่มความเร็วได้ทั่วโลก

เพิ่มความเร็วได้ทั่วโลก

CDN ของเทนเซ็นต์ คลาวด์ ใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่กระจายตัวอยู่บริเวณเครื่องปลายทาง และศูนย์กลางข้อมูลระดับภูมิภาค มาช่วยเพิ่มความเร็วผ่านเส้นทาง Cross-Node และการพัฒนาปลายทางการรับข้อมูลที่เฉลียวฉลาด บริการ CDN จึงช่วยแก้ปัญหาด้วยการการร่นระยะเวลาการรับส่งข้อมูล และส่งมอบประสบการณ์การใช้งานทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เฝ้าสังเกตและแจ้งเตือน

เฝ้าสังเกตและแจ้งเตือน

CDN ให้บริการเฝ้าสังเกตแบบ Real-Time ที่ซับซ้อน สำหรับ Traffic การเข้าถึงและการดึงข้อมูล แบนด์วิดท์ คำร้องขอเข้าถึงข้อมูล อัตราการพบข้อมูล และโค้ดที่ใช้บอกสถานะการทำงานของเว็บไซต์นั้นๆ ในความเร็วระดับนาที จึงช่วยให้ผู้ใช้สามารถสรุปสถานะการให้บริการ CDN แบบ Real-Time และยังช่วยเฝ้าสังเกตสถานะเซิร์ฟเวอร์ตั้งต้นอีกด้วย โดยผู้ใช้สามารถตั้งค่านโยบายการแจ้งเตือนตามการใช้งานได้ใน Cloud Monitor เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ได้รับทราบความผันผวนของธุรกิจ
การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล

CDN ช่วยให้ผู้ใช้สามารเรียกดูรายงานหลายประเภทได้ อาทิ สถิติไอพีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ที่กระจายตัวทั่วภูมิภาค และการกระจายตัวของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ผ่านทาง Log Streaming นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถดาวน์โหลดบันทึกการเข้าถึงข้อมูล เพื่อทำการวิเคราะห์ด้วยตัวเองได้
ใช้งานง่าย

ใช้งานง่าย

หลังจากเปิดใช้งาน CDN และเชื่อมต่อชื่อโดเมนแล้ว เพียงผู้ใช้เพิ่มบันทึก CNAME ที่สอดคล้องลงในบริการจัดหาชื่อโดเมน ก็สามารถเปิดการใช้งานการเพิ่มความเร็วได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเพิ่มเติมเลย คอนโซล CDN มีตัวเลือกการใช้งานมากมายให้เลือกใช้ อาทิ การตั้งค่านโยบายการเข้าถึงข้อมูล การปรับเวลาสิ้นอายุของ Cache Node การพัฒนาการร้องขอ HTTP และการตั้งค่า HTTPS

คุณสมบัติ

การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล
ผู้ใช้สามารถตั้งค่าการจำกัดการเข้าถึงข้อมูล และสร้างบัญชีรายชื่อที่อนุญาต/ไม่อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลสำหรับการอ้างอิงผู้แนะนำ ไอพี และ UA ขึ้นมาเพื่อปฏิเสธคำร้องขอเข้าถึงข้อมูลบางคำร้อง และยังมีการป้องกัน Hotlink แบบระบุเวลาพร้อมใช้งาน เพื่อทำหน้าที่ป้องกันการใช้ทรัพยากรโดยไม่ได้รับอนุญาต และหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
การตั้งค่าแคช
ผู้ใช้สามารถกำหนดเวลาสิ้นอายุของแคชใน Node ของ CDN ที่แตกต่างกันไปตามประเภทไฟล์ สารบัญรวมชื่อไฟล์ และเส้นทางการส่งข้อมูลของ CDN ได้ เพื่อพัฒนาอัตราการพบข้อมูลของ Node และลดการใช้งานแบนด์วิดท์เพื่อดึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เฝ้าสังเกตและแจ้งเตือน
บริการเฝ้าสังเกตแบบ Real-Time ที่ซับซ้อนและมีไว้สำหรับนับยอด Traffic แบนด์วิดท์ คำร้องขอเข้าถึงข้อมูล อัตราการพบข้อมูล อัตราการดึงข้อมูลที่ล้มเหลว และโค้ดที่ใช้บอกสถานะการทำงานของเว็บไซต์นั้นๆ ในความเร็วระดับนาที ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำความเข้าใจสถานะการบริการ และเฝ้าสังเกตการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ของ CDN ได้ทันที นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถตั้งค่านโยบายการแจ้งเตือนตามที่ต้องการใช้งานได้ในคอนโซล Cloud Monitor ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตามความผันผวนของธุรกิจได้ทันท่วงที
ล้างระบบ และ โฟลเดอร์ Prefetch
หลังจากมีการอัพเดทหรือลบข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์ตั้งต้นไปแล้ว ผู้ใช้สามารถสั่งล้าง URL หรือสารบัญไฟล์ข้อมูลได้ในคอนโซลหรือผ่านทาง API แบบเปิด เพื่อเป็นการลบข้อมูลแคชทั่วเครือข่าย และเพื่อรับรองว่าข้อมูลที่ผู้ใช้จะสามารถเข้าถึงได้เป็นทรัพยากรข้อมูลล่าสุด โดยหน้าที่ของ Prefetch URL คือการทำให้ Cache Node สามารถดึงข้อมูลที่ระบุจากเซิร์ฟเวอร์ตั้งต้น และเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ในแคชเพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลได้
ดาวน์โหลดบันทึกข้อมูล
ระบบมีบันทึกการเข้าถึงข้อมูลสำหรับชื่อโดเมนทั้งหมดตลอด 30 วันที่ผ่านมาให้เป็นค่ามาตรฐาน โดยจะมีการบันทึกข้อมูลไว้ 15 ประเภท ได้แก่ เวลาที่ทำการร้องขอข้อมูล ไอพีของเครื่อง Client ชื่อโดเมน เส้นทางการเข้าถึงข้อมูล จำนวนไบต์ ที่อยู่ของเครื่อง Client ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตของเครื่อง Client โค้ดสถานะ การอ้างอิงผู้แนะนำ เวลาที่ตอบสนอง User Agent พิสัย HTTP Method หมายเลข HTTP Protocol และ อัตราการพบ/ไม่พบข้อมูลในแคช โดยผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดบันทึกข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ได้
การเพิ่มความเร็วของ HTTPS
เทนเซ็นต์ คลาวด์ ออกใบรับรอง SSL ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ผู้ใช้สามารถยื่นขอใบรับรองได้ฟรีกับเรา หรือสามารถซื้อแบบที่ต้องการได้จาก Symantec หรือ GeoTrust แล้วจึงรันโปรแกรมขึ้น CDN ได้ง่ายๆ เพื่อการเข้าถึง HTTPS หลังรันโปรแกรมแล้ว ผู้ใช้จะสามารถใช้ฟีเจอร์ อย่าง การตั้งค่า Redirect เว็บไซต์ให้เปลี่ยนเป็น HTTPS (301/302 Redirect) และ HTTP 2.0 ได้
ผู้ใช้สามารถตั้งค่าการจำกัดการเข้าถึงข้อมูล และสร้างบัญชีรายชื่อที่อนุญาต/ไม่อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลสำหรับการอ้างอิงผู้แนะนำ ไอพี และ UA ขึ้นมาเพื่อปฏิเสธคำร้องขอเข้าถึงข้อมูลบางคำร้อง และยังมีการป้องกัน Hotlink แบบระบุเวลาพร้อมใช้งาน เพื่อทำหน้าที่ป้องกันการใช้ทรัพยากรโดยไม่ได้รับอนุญาต และหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

รูปแบบการใช้

การเพิ่มความเร็วข้อมูลแบบ Static
ระบบการกำหนดเวลาที่ทำงานแบบ GSLB ของเทนเซ็นต์ สามารถนำส่งคำร้องขอของผู้ใช้ไปยัง Cache Node ที่มีค่าการค้นหาต่อวินาทีสูงได้อย่างแม่นยำ จึงทำให้ตอบสนองคำร้องขอขนาดมหาศาลที่ถูกส่งมายังเว็บและรูปภาพแบบ Static ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยร่นระยะเวลาการเข้าถึงข้อมูล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งาน
ระบบการกำหนดเวลาที่ทำงานแบบ GSLB ของเทนเซ็นต์ สามารถนำส่งคำร้องขอของผู้ใช้ไปยัง Cache Node ที่มีค่าการค้นหาต่อวินาทีสูงได้อย่างแม่นยำ จึงทำให้ตอบสนองคำร้องขอขนาดมหาศาลที่ถูกส่งมายังเว็บและรูปภาพแบบ Static ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยร่นระยะเวลาการเข้าถึงข้อมูล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งาน
การเพิ่มความเร็วข้อมูลแบบ Static